วันเสาร์ที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2555

ความรักกับเงินตรา


   

  1. ทำข้อตกลงเรื่องการจัดสรรเงิน
    ถ้าจะให้แฟร์ควรคุยกันไปเลยว่าเงินที่ฝ่ายหญิงหามาได้จะเป็นเงินเก็บส่วนตัว ส่วนเงินที่ฝ่ายชายให้มาผู้หญิงจะจัดการบริหารให้ลงตัว ถ้าไม่พอจะควักออกให้ หรือตกลงกันว่า แบ่งครึ่งหนึ่งเป็นกองกลางสำหรับใช้จ่ายในบ้าน อีกครึ่งหนึ่งเขาเก็บไว้ ในกรณีที่คุณมีเงินเก็บแล้วไม่รู้ว่าจะบอกฝ่ายชายดีหรือไม่ แนะว่าควรดูว่าคู่ของเราเขาเป็นคนที่แฟร์เรื่องเงิน และพร้อมที่จะดูแลเราไหม? มีความเป็นสุภาพบุรุษทางการเงินมากน้อยแค่ไหน? ถ้าเป็นสุภาพบุรุษอาจพูดตรงๆ ได้ แต่ถ้าเขาไม่แฟร์ คุณไม่ควรบอกเขาอย่างยิ่งว่ามีเงินเก็บ อย่าลืมว่าพฤติกรรมการใช้สตางค์ของผู้ชายคือ ชอบซื้ออะไรที่เป็นชิ้นใหญ่ๆ แตกต่างจากผู้หญิงเราที่ชอบช็อปปิ้งสิ่งของเล็กๆ ถ้าเขารู้ว่ามีเงินเก็บอาจเป็นการเสี่ยงต่อเงินก้อนนั้นไปโดยปริยาย
  2. รับรู้รายรับและรายจ่ายของเขาในทุกๆ ด้าน
    เพราะเมื่อตกลงแต่งงานกันแล้ว ย่อมถือว่าเสี่ยงไปมากกว่าครึ่ง   เวลาทำธุรกรรมทุกอย่างต้องทำร่วมกัน ฉะนั้  นเมื่อ แต่งงานกันแล้ว ผู้หญิงควรรู้ทุกเรื่องของฝ่ายชาย เช่น รู้บัญชีเงินเข้า - ออกของครอบครัว หรือฝ่ายชายได้เงินเดือนเท่าไร มีทรัพย์สินอะไรบ้าง จะได้ไม่ต้องเจอความเสี่ยงภายหลัง 
  3. วางแผนการเงินตลอดปี 
    ดูว่ามีค่าใช้จ่ายอะไรบ้าง? เช่น ค่าเทอมลูกหรือค่าเดินทางท่องเที่ยว ฯลฯ การกำหนดรายจ่ายล่วงหน้า จะทำให้ไม่ใช้จ่ายเงินเกินตัว และยังสามารถวางแผนการออมเงินและจุดประสงค์ในการใช้เงินได้อีกด้วย
  4. หาเวลาคุยกันทุกเดือน
    เพื่อประเมินว่าแผนการใช้เงินที่กำหนดไว้นั้นเป็นไปตามเป้าหมายมากน้อยแค่ไหน
  5. บริหารเงินให้งอกเงย
    ไม่ว่าจะมีเงินเก็บเท่าไร ต้องนึกถึงการบริหารเงินนั้นว่าสามารถสร้างรายได้ในอนาคตได้หรือไม่ เช่น ได้ดอกเบี้ยจากธนาคาร ได้กำไรจากหุ้น ยิ่งเวลาในการฝากนานหรือมีการลงทุนนานขึ้น ผลตอบแทนยิ่งทวีคูณ
  6. วางแผนสำรองทางการเงินเผื่อเรื่องฉุกเฉิน
    วิธีนี้ทำให้ชีวิตคู่ในอนาคตของคุณราบรื่นขึ้น

ถ้าเราสามารถวางแผนเรื่องเงินกับความรักไปพร้อมๆ กันได้ นั่นละคือการใช้ชีวิตคู่อย่างมีความสุข และเป็นการจัดการที่ลงตัวที่สุด

ข้อมูลจาก : sanook.com

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น