วันพฤหัสบดีที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

ทิศทั้ง 8 ทิศ แบบไทย




      1. ทิศเหนือ                         เรียกว่า   ทิศอุดร
      2. ทิศใต้                             เรียกว่า   ทิศทักษิณ
      3. ทิศตะวันออก                     เรียกว่า   ทิศบูรพา
      4. ทิศตะวันตก                       เรียกว่า   ทิศประจิม
      5. ทิศตะวันออกเฉียงเหนือ        เรียกว่า   ทิศอีสาน
      6. ทิศตะวันออกเฉียงใต้            เรียกว่า   ทิศอาคเนย์
      7. ทิศตะวันตกเฉียงเหนือ          เรียกว่า   ทิศพายัพ
      8. ทิศตะวันตกเฉียงใต้              เรียกว่า   ทิศหรดี 


ทิศโบราณทั้ง 32 ทิศ

๑. ทิศอุดร
๒. ทิศอุดรภาคบูรพา
๓. ทิศอุตรีสาน
๔. ทิศอีสานภาคอุดร
๕. ทิศอีสาน
๖. ทิศอีสานภาคบูรพา
๗. ทิศบุริมีสาน
๘. ทิศบูรพาภาคอุดร
๙. ทิศบูรพา
๑๐. ทิศบูรพาภาคทักษิณ
๑๑. ทิศบูริมาคเนย์
๑๒. ทิศอาคเนย์ภาคบูรพา
๑๓. ทิศอาคเนย์
๑๔. ทิศอาคเนย์ภาคทักษิณ
๑๕. ทิศทักษิณาคเนย์
๑๖. ทิศทักษิณภาคบูรพา
๑๗. ทิศทักษิณ
๑๘. ทิศทักษิณภาคประจิม
๑๙. ทิศทักษิณเนรดี
๒๐. ทิศหรดีภาคทักษิณ
๒๑. ทิศหรดี
๒๒. ทิศหรดีภาคประจิม
๒๓. ทิศปัจฉิมเนรดี
๒๔. ทิศประจิมภาคทักษิณ
๒๕. ทิศประจิม
๒๖. ทิศประจิมภาคอุดร
๒๗. ทิศปัจฉิมพายัพ
๒๘. ทิศพายัพภาคประจิม
๒๙. ทิศพายัพ
๓๐. ทิศพายัพภาคอุดร
๓๑. ทิศอุดรพายัพ
๓๒. ทิศอุดรภาคประจิม

ขอบคุณข้อมูลดีจาก  http://writer.dek-d.com/emperors/story/viewlongc.php?id=310423&chapter=26 

วันอาทิตย์ที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

ทะเบียนรถมหามงคล

จากข่าวที่เกิดขึ้นเกี่ยวกับเรื่อง กรมขนส่งฯ เตรียมนำป้ายทะเบียนแบบใหม่แทนรุ่นเดิม มั่นใจใช้ได้อีก 157 ปีจึงทำให้หลายคนอยากมีป้ายทะเบียนที่ช่วยเสริมมงคลแก่ตัวเอง วันนี้เราจึงมีการคำนวณหาค่าตัวเลขจากป้ายที่ช่วยเสริมมงคลให้แก่คุณๆ มาฝากกันค่ะ
ตัวอย่าง หมายเลขทะเบียน ศว 1212 คือ 1 + 2 + 1 + 2 = 6 ให้ดูความหมายเลข 6
ตัวอย่าง หมายเลขทะเบียน ศศ 5959 คือ 5 + 9 + 5 + 9 = 28 แปลง 2 + 8 = 10 แปลง 1 + 0 = 1 ให้ดูความหมายเลข 1
เลข 1 หมายถึง มีตำแหน่งใหญ่ มีโลกส่วนตัว ชีวิตครอบครัวไม่ยุ่งเกี่ยวกับใคร ส่งผลให้ทำเพียงผู้เดียว อยู่กับครอบครัว
เลข 2 หมายถึง ผู้หญิง ความสุข ความสบาย การมีคู่ช่วยเหลือ และนำพาความสะดวกมาให้รถคันนี้มากมาย
เลข 3 การมีชีวิตอยู่อย่างมี การให้กำเนิดและการเริ่มต้นที่ดีเป็นเลขพระ บ่งบอกการเริ่มต้นสำเร็จต่างๆ และกำไรต่างๆ และอาจหมายถึงอุบัติเหตุ
เลข 4 คดีความ ทะเลาะ มีปัญหา ไม่ดี แก้นำทองแผ่น 3 แผ่นแปะให้พระเจิม เป็นสิริมงคลแก่รถ และขอพรเทพให้ช่วยคุ้มครองให้ปลอดภัย
เลข 5 หมายถึงการซ่อมแซม การติดขัดเรื่องเงิน แก้โดยนำพวงมาลัยถวายแม่ย่านาง ทุกวันเกิดตนเองให้แคล้วคลาดและโชคดีขึ้น
เลข 6 หมายถึง แสดงถึงคนช่วยเหลือมากมาย คนให้เงินและมีความเจริญรุ่งเรือง แคล้วคลาดจากอันตราย
เลข 7 หมายถึง ต้องเสียเงินกับการเดินทาง อุบัติเหตุ แก้ให้นำดอกไม้ถวายพระในรถขอพรให้ทุกวันเกิดตนเองจะทำให้ตนเองมีเงินมากขึ้น และแคล้วคลาด
เลข 8 หมายถึง ความรุ่งเรือง ความมั่งมี และสมหวังด้านการงานและสุขภาพ สมบูรณ์ดี
เลข 9 หมายถึง ความสำเร็จนิรันดร ความก้าวหน้า ความสุขต่อไป แคล้วคลาดปลอดภัยดี
ดังนั้นจะเห็นได้ว่า การเลือกเลขให้มีโชค จะทำให้ตัวคุณพบกับสิ่งที่ดี เสริมดวงทำให้ตัวเองดีขึ้นต่อไป แต่อย่างไรก็ดีการคำนวณตัวเลขเป็นเพียงความเชื่อส่วนบุคคล(เราไม่ขอชี้นำให้ทุกท่านงมงาย) ที่ทำเพื่อความสบายใจ ทางที่ดีผู้ขับขี่รถเองก็ควรขับรถด้วยความไม่ประมาทเช่นกัน จึงจะส่งผลดีต่อตนเองและคนรอบข้างมากที่สุดค่ะ
ขอบคุณข้อมูลจาก www.giftgaemall.com

วันเสาร์ที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

ทฤษฎีนักสังคมวิทยา Max Weber (แมกซ์ เวเบอร์)

ทฤษฎีนักสังคมวิทยา
Max Weber (แมกซ์ เวเบอร์)

Max Weber – ได้เสนอแนวคิดเกี่ยวกับการจัดองค์การแบบ ระบบราชการ หรือ Bureaucracy
ขึ้นมา
ระบบราชการ  (Bureaucracy) หรือ ระบบราชการ อาจแยกพิจารณาได้เป็น 2 แบบ
1.             Bureaucracy – ในฐานะที่เป็นสถาบันทางสังคม (social institute) สถาบันหนึ่ง นั่นคือ เป็นสถาบันการบริหาร / การปกครองของรัฐ
1.1      ถือเป็นสถาบันหนึ่งของกระบวนการในการปกครองประเทศ
1.2      เป็นสถาบันที่มีหน้าที่ ต้องปกป้อง ดูแล รักษาผลประโยชน์บ้านเมือง อีกแห่งหนึ่ง
1.3      ต้องการอิสระในการทำงาน  เป็นสถาบันที่มั่นคง ยากต่อการเปลี่ยนแปลง  แก้ไข
2.             bureaucracy - ในฐานะที่เป็น รูปแบบหนึ่งของการจัดองค์การ (a form of organization) ในแง่นี้ คือ       
2.1       ระบบการบริหาร หรือระบบการทำงานระบบหนึ่ง
  2.2  มีโครงสร้างแบบที่เรียกว่า “Weberian Bureaucracy”

  2.3  เป็นสิ่งที่สามารถแก้ไขเปลี่ยนแปลงให้ ตามความเหมาะสมกับสภาพการณ์ต่าง ๆ

     ข้อสมมติฐาน องค์การแบบระบบราชการเป็นองค์การที่ดีที่สุด และมีประสิทธิภาพ  ประสิทธิผล และประหยัดที่สุดเหตุผล 
1.             ยึดหลักการบริหารที่อาศัยความมีเหตุมีผล และ ความถูกต้องตามกฎหมายในการปฏิบัติงาน
 2.  มีการแบ่งงานกันทำอย่างเป็นทางการตามตัวบทกฎหมาย
3.  อาศัยหลักความรู้ความสามารถ (ระบบคุณธรรม)   เป็นเกณฑ์ในการบริหารงานบุคคล4.  สามารถพยากรณ์พฤติกรรมหรืออปรากฎการณ์ได้
            ระบบราชการ (bureaucracy) เป็นรูปแบบโครงสร้างของการจัดองค์การขนาดใหญ่ที่สามารถนำไปใช้เป็นวิธีการใน การจัดองค์การได้ทั้งในภาครัฐและเอกชน ไม่ใช่ระบบการบริหารที่ใช้ในองค์การภาครัฐเท่านั้น แต่ในองค์การภาคเอกชนขนาดใหญ่ก็นำไปใช้ด้วย
Bureaucracy  จึงเป็นระบบการบริหารระบบหนึ่งที่นิยมนำไปใช้ในองค์การขนาดใหญ่ที่มีคนจำนวนมาก มีภารกิจที่ต้องทำมาก

             กลไกการบริหาร (administrative apparatus) เป็นกลไกการควบคุม และทำหน้าที่เป็นตัวเชื่อมระหว่าง
             ผู้นำและกลุ่มชนที่ถูกปกครอง กลไกการบริหาร ต้องมีรูปแบบที่เหมาะสมกับรูปแบบแห่งอำนาจที่ผู้นำในสังคมนั้นใช้อยู่

รูปแบบแห่งการใช้อำนาจในการปกครองบังคับบัญชา ตามแนวคิดของ Max Weber แบ่งเป็น 3 รูปแบบ
             -Charismatic Domination รูปแบบการใช้อำนาจเฉพาะตัวแบบอาศัยบารมี กลไกลการบริหารที่ใช้คือ
Dictatorship, communal
             -Traditional domination รูปแบบการใช้อำนาจแบบประเพณีนิยม
             -Feudal / Patrimonial (ระบบศักดินา / เจ้าขุนมูลนาย) รูปแบบการใช้อำนาจตามกฎหมาย (Legal domination)

ระบบราชการ (bureaucracy)
             จะทำหน้าที่เป็นกลไกการบริหารของกลุ่มชน โดยผู้นำจะใช้อำนาจที่มีอยู่ตามกฎหมายปกครอง บังคับบัญชาโดยผ่านระบบราชการ
องค์การแบบระบบราชการตามแนวคิดของ Max Weber จะประกอบด้วยโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญ 7ประการดังนี้
             1. หลักลำดับขั้น (hierachy)
             2. หลักความรับผิดชอบ (responsibility)
             3. หลักแห่งความสมเหตุสมผล (rationality)
             4. การมุ่งสู่ผลสำเร็จ (achievement orientation)
             5. หลักการทำให้เกิดความแตกต่างหรือความชำนาญเฉพาะด้าน (differentation, specialization)
             6. หลักระเบียบวินัย (discipline)
             7. ความเป็นวิชาชีพ (professionalization)

1. หลักลำดับขั้น (heirachy) 
             หลักการนี้ มีเป้าหมายที่จะทำให้องค์การต้องอยู่ภายใต้การควบคุม โดยเชื่อว่า การบริหารที่มีลำดับขั้น จะทำให้ระบบการสั่งการและการควบคุมมีความรัดกุม ทำให้การดำเนินงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพการบริหารที่เน้นกฎเกณฑ์และขั้น ตอนมีความเหมาะสมในช่วงศตวรรษที่ 19-20 แต่เมื่อสถานการณ์โลกเปลี่ยนไปการบริหาร
             ตามลำดับขั้นจึงเริ่มมีปัญหา เพราะการทำงานในปัจจุบันต้องการความรวดเร็ว คนต้องการเสรีภาพมากขึ้นประชาชนต้องการบริการที่สะดวกรวดเร็ว แต่ในองค์การขนาดใหญ่ที่ใช้ระบบราชการ  มีคนจำนวนมาก แต่มากกว่าครึ่งจะอยู่ในตำแหน่งระดับผู้บริหาร หัวหน้างาน กว่าจะตัดสินใจงานสำคัญๆต้องรอให้ผู้บริหาร 7-8 คนเซ็นอนุมัติตามขั้นตอน และยังมีกฎเกณฑ์มากมาก ส่วนพนักงาน (ข้าราชการ) ระดับล่างจำนวนมาก ทั้งหมดมีหน้าทีทำงานเอกสาร โดยการตรวจบันทึกของคนอื่นแล้วเขียนบันทึกส่งให้เจ้านาย  คำบันทึกหรือรายงานเต็มไปด้วยศัพท์อันหรูหรา นอกจากนี้ยังมีฝ่ายวางแผน ฝ่ายวิชาการ เป็นผู้จัดทำแผนยุทธศาสตร์หนาปึกใหญ่ให้เจ้านาย
             การที่ผู้นำคิดว่า วิธีการบริหารองค์การขนาดใหญ่คือ เผด็จการ ถือเป็นความเชื่อที่ผิดมาก เพราะผู้บริหารสูงสุดไม่ได้รู้คำตอบได้ทุกเรื่อง แต่ควรมองหาคำตอบที่ดี ถูกต้องจากผู้อื่นด้วย การลดขั้นตอน ลดลำดับขั้นของการสั่งการออกไป ในขณะที่รักษาความสามารถในการควบคุมที่จำเป็นไว้ โดยการตัดขั้นตอนของผู้บริหารที่ไม่เพิ่มมูลค่าให้กับงานออก เพื่อจัดองค์การที่เป็นแนวราบมากขึ้น  และทำให้คนที่ทำงานในระดับรอง ๆ ลงมาสามารถควบคุมดูแลและรับผิดชอบต่อความสำเร็จและความล้มเหลวของตนเอง
2. ความสำนึกแห่งความรับผิดชอบ (responsibility)
             เจ้าหน้าที่ทุกคนต้องมีความสำนึกแห่งความรับผิดชอบต่อ  การกระทำของตนความรับผิดชอบ หมายถึง การ รับผิดและรับชอบต่อการกระทำใด ๆ ที่ (responsibility) ตนได้กระทำลงไปและความพร้อมที่  จะให้มีการตรวจสอบโดยผู้บังคับบัญชาอยู่ตลอดเวลาด้วย
             อำนาจ (authority) หมายถึงความสามารถในการสั่งการ บังคับบัญชา หรือกระทำการใด ๆ เพื่อให้มีการดำเนินการ หรือปฏิบัติการต่าง ๆ ตามหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายมา
             - อำนาจหน้าที่เป็นสิ่งที่ได้มาอย่างเป็นทางการตามตำแหน่ง
             - อำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบจะต้องมีความสมดุลกันเสมอ
             - การได้มาซึ่งอำนาจในทัศนะของ Max Weber คือ การได้อำนาจมาตามกฎหมาย (legal authority)
             - ภาระหน้าที่ (duty) หมายถึงภารกิจหน้าที่การงานที่ถูกกำหนด หรือได้รับมอบหมายให้กระทำ
3. หลักแห่งความสมเหตุสมผล (rationality)
             ความถูกต้องเหมาะสมของแนวปฏิบัติที่จะนำมาใช้เป็นแนวทางในการดำเนินงานให้บรรลุผลอย่างมีประสิทธิภาพ
             ประสิทธิผล (effective) การทำงานหรือการดำเนินกิจการใด ๆ ที่สามารถประสบผลสำเร็จตามเป้าหมายที่กำหนดไว้
             ประสิทธิภาพ (efficiency) ความสามารถในการที่จะใช้ทรัพยากรบริหารต่าง ๆ ที่มีอยู่ ซึ่งได้แก่ คน เงิน วัสดุ อุปกรณ์ เครื่องมือ เครื่องใช้ เวลาไปในทางที่จะก่อให้เกิดประโยชน์ต่อการดำเนินงานนั้นได้มากที่สุด
             ประหยัด (economic) ความสามารถในการที่จะประหยัดทรัพยากรบริหาร แต่สามารถที่จะให้บริการ หรือผลิตออกมาให้ได้ระดับเดิม
การประเมินผลการปฏิบัติงาน  ที่มีความเกี่ยวพันกับเป้าหมาย ขององค์การอาจทำได้ 2 วิธีคือ
             1. การวัดผลการปฏิบัติงานในลักษณะที่เรียกว่า ประสิทธิผล (effectiveness) จะเป็นการกำหนดขอบเขต หรือ ขนาดที่องค์การต้องการบรรลุผลสำเร็จไว้ แล้วมีการประเมินผลหลังจากที่มีการปฏิบัติแล้วว่าสามารถดำเนินการให้ได้ผล ตามเป้าหมายที่กำหนดไว้หรือไม่  ถ้าสำเร็จก็คือว่าบรรลุเป้าหมาย หรือ มีประสิทธิผล (where)
             2. การวัดประสิทธิภาพ (efficiency) หมายถึงระดับที่องค์การใช้ทรัพยากรให้เกิดประโยชน์ เป็นการวัดผลในทางเศรษฐศาสตร์  มีการวัดต้นทุน ค่าใช้จ่ายต่อหน่วยผลิตที่ได้ เป็นการวัดว่าองค์การบรรลุเป้าหมายได้อย่างไร (how)
แนวทางที่จะนำไปสู่ความสมเหตุสมผลหรือประสิทธิภาพ
             1. มีการกำหนดระเบียบวิธีการปฏิบัติงาน ขึ้นมาไว้อย่างชัดเจนในรูปของกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับขององค์การ
            Weber ให้ความสำคัญกับกระบวนการทำงาน (work process) ว่ามีความสำคัญต่อการที่จะทำให้งานบรรลุผลอย่างมีประสิทธิภาพ (work outcome) เพราะวิธีการทำงานแสดงให้เห็นว่า จะทำงาน อย่างไร (how to) โดยวิธีการใดจึงทำให้งานสำเร็จอย่างมีประสิทธิภาพ
             มาตรการพัฒนาและบริหารกำลังคนเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพระบบราชการ (มาตราการที่3)
 วัตถุประสงค์ คือ
             1.1 เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพระบบราชการให้สามารถทำงานได้อย่างเต็มที่ โดยมุ่งตอนสนองความต้องการของประชาชน
             1.2 เพื่อพัฒนาข้าราชการที่มีประสิทธิภาพการทำงานต่ำ (5%) ได้รับการพัฒนาเพิ่มทักษะ ความรู้ ความสามารถให้สามารถทำงานได้อย่างเต็มที่
ประสิทธิภาพ (outcome)
             1.1 สามารถคัดคนที่ทำงานไม่มีประสิทธิภาพ มีผลงานระดับต่ำสุดร้อยละ 5 ของหน่วยงานออกมาได้อย่างแท้จริง
             1.2 สามารถแก้ไขและพัฒนาข้าราชการที่ถูกพิจารณาว่ามีผลงานต่ำ ทำงานไม่มีประสิทธิภาพ ให้กลายเป็นคนที่มีความสามารถทำงานได้เต็มประสิทธิภาพ ลดละพฤติกรรมทำงานแบบเฉื่อยชา เอาเปรียบเพื่อนร่วมงาน เพื่อให้มาตราการที่ 3 สามารถถูกนำไปปฏิบัติได้ผลอย่างมีประสิทธิภาพ ต้องกำหนด ระเบียบวิธีปฏิบัติที่ ชัดเจน  เหมาะสม และสามารถนำไป

             2. มีการฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานให้เกิดความรู้ความเข้าใจอย่างถูกต้อง ก่อนมอบหมายภาระหน้าที่ให้กระทำ
             3. ต้องมีการแยกทรัพย์สินส่วนตัวออกจากทรัพย์สินขององค์การอย่างเด็ดขาด
             -  ตำแหน่งงานที่มีหน้าที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการรักษาความยุติธรรมในสังคม และต้องการความอิสระในการปฏิบัติงาน ต้องมีการแต่งตั้งด้วยความระมัดระวังการกระทำต่างๆในองค์การต้องทำอย่างเป็น ทางการและมีหลักฐานเป็นลายลักษณ์อักษรเสมอ การบริหารที่เน้นกฎเกณฑ์ เอกสารหลักฐาน ทำให้เกิดความล่าช้า ยุ่งยากไม่สามารถตอบสนองความต้องการได้
             ทำอย่างไรจึงสามารถลดขั้นตอนที่ไม่จำเป็นออกเพื่อทำให้การทำงานเรียบง่าย รวดเร็ว มั่นใจ
ความรวดเร็ว-การลดปริมาณกระดาษที่ใช้ ปริมาณงานที่ทำ หรือการทำให้คนตัดสินใจได้เร็วขึ้น
             เรียบง่าย – กระบวนการทำงานที่ไม่มีขั้นตอนที่ซับซ้อน แต่ออกแบบให้ง่าย มีกฎเกณฑ์ ขั้นตอนเท่าที่จำเป็น
             มั่นใจ-การสร้างบรรยากาศที่ให้โอกาสข้าราชการ (พนักงาน) ทำงานด้วยความมั่นใจ กล้าคิดและทำในสิ่งที่ถูกต้อง เพื่อผลประโยชน์สูงสุดขององค์การ ทำงานเพื่องาน ไม่ใช่เพื่อให้มีผลงาน
4. หลักการมุ่งสู่ผลสำเร็จ (achievement orientation)
             -  การปฏิบัติงานใด ๆ จะต้องมุ่งสู่เป้าหมายหรือวัตถุประสงค์ขององค์การเสมอ (ประสิทธิผล)
             -  ประสิทธิผล หรือผลสำเร็จจะเกิดขึ้นได้ต้องอาศัยปัจจัยอย่างน้อย 3 อย่างคือ
             1.  เจ้าหน้าที่ต้องมีหลักการและวิธีการในการตัดสินใจเลือกหนทางปฏิบัติได้อย่าง ถูกต้อง โดยถือหลัก ประสิทธิภาพ หรือ หลักประหยัด
             หลักประสิทธิภาพ (efficiency) - ในระหว่างทางเลือกหลาย ๆ ทางที่จะต้องใช้จ่ายเงินเท่ากัน ควรเลือกทางเลือกที่ก่อให้เกิดประสิทธิผลสูงสุด
             หลักประหยัด  (economy) - ถ้ามีทางเลือกที่ก่อให้เกิดประสิทธิผลได้เท่า ๆ กัน หลายทางเลือก ควรเลือกทางเลือกที่เสียค่าใช้จ่ายน้อยที่สุด
             2. ความมีประสิทธิผลในการบริหารงานจะเกิดขึ้นต่อเมื่อมีการแบ่งงานกันทำตามความชำนาญเฉพาะด้าน
             3. การบริหารจะได้รับประสิทธิผลสูงสุดต่อเมื่อมีการกำหนดวิธีการปฏิบัติงานที่ ถูกต้อง เหมาะสม กับลักษณะงาน  สถานที่ ช่วงเวลา สภาพแวดล้อม ในทางเศรษฐกิจ  สังคม การเมือง   และเป้าหมายหรือผลสำเร็จที่ต้องการ
5. หลักการทำให้เกิดความแตกต่างหรือการมีความชำนาญเฉพาะด้าน (Specialization)
             -  ลักษณะทางโครงสร้างขององค์การแบบระบบราชการ ต้องมีการแบ่งงาน  และจัดแผนกงาน หรือจัดส่วนงาน (departmentation) ขึ้นมา เพราะภารกิจการงานขององค์การขนาดใหญ่มีจำนวนมากจึงต้องมีการแบ่งงานที่ต้อง ทำออกเป็นส่วนๆ แล้วหน่วยงานมารองรับ
การจัดส่วนงานอาจยึดหลักการจัดองค์การได้หลายรูปแบบ  คือ
             1. การแบ่งส่วนงานตามพื้นที่ เป็นการแบ่งงานโดยการกำหนดพื้นที่ที่ต้องรับผิดชอบไว้อย่างชัดเจน และมีการกำหนดภาระกิจ บทบาท อำนาจหน้าที่ ที่องค์การต้องบริหารจัดการไว้ด้วย เช่น การแบ่งพื้นที่การบริหารราชการออกเป็น จังหวัด อำเภอ อ.บ.จ. อ.บ.ต. เทศบาล
             2. การแบ่งงานตามหน้าที่ หรือภารกิจที่องค์การจะต้องปฏิบัติจัดทำ เช่นการจัดแบ่งงานของกระทรวงต่างๆ เช่น กระทรวงกลาโหม กระทรวงการต่างประเทศ กระทรวงการคลัง
             3. การแบ่งงานตามลูกค้า หรือผู้รับบริการ เช่น การแบ่งโรงพยาบาล ออกเป็น โรงพยาบาลเด็ก โรงพยาบาลหญิง โรงพยาบาลสงฆ์
             4. การแบ่งงานตามขั้นตอนหรือกระบวนการทำงาน โดยคำนึงว่างานที่จะทำสามารถแบ่งออกเป็นกี่ขั้นตอน อะไรบ้าง แล้วกำหนดหน่วยงานมารองรับ
6. หลักระเบียบวินัย (discipline)
             ต้องมีการกำหนดระเบียบ วินัย และบทลงโทษ ขึ้นมาเพื่อเป็นกลไกการควบคุมความประพฤติของสมาชิกทุกคนในองค์การ
7. ความเป็นวิชาชีพ (Professionalization)
             -  ผู้ปฏิบัติงานในองค์การราชการ ถือเป็นอาชีพอย่างหนึ่ง และต้องปฏิบัติงานเต็มเวลา
             -  ความเป็นวิชาชีพ  “รับราชการ”  นั้น ผู้ปฏิบัติงานจะต้องมีความรู้เกี่ยวกับ กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ ตลอดจนตัวบทกฎหมายต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงานในภาระหน้าที่ของตนด้วย
ความสำเร็จของระบบราชการในอดีตเกือบ 100 ปี ที่ผ่านมา เพราะ
             -  มีวิธีการจัดองค์การที่ มีระบบการทำงานที่ชัดเจน ตั้งอยู่บนหลักการของความสมเหตุสมผล
             -  มีการใช้อำนาจตามสายการบังคับบัญชา มีการแบ่งงานตามหลักความชำนาญเฉพาะด้าน ทำให้ระบบราชการสามารถทำงานที่มีขนาดใหญ่ และสลับซับซ้อนได้อย่างดี
             -  ระบบราชการพัฒนาและใช้มาในช่วงที่สังคมยังเดินไปอย่างช้าๆและเพิ่งปรับ เปลี่ยนมาจากสังคมศักดินา ประชาชนยังไม่ตื่นตัวในเรื่องสิทธิเสรีภาพ
             -  ผู้มีอำนาจในระดับสูงยังเป็นผู้มีข้อมูลที่มากพอต่อการตัดสินใจได้ดีกว่าคนในระดับล่าง หรือประชาชนทั่วไป
             -  คนส่วนใหญ่ยังมีความจำเป็นและต้องการบริการสาธารณะจากรัฐเหมือน ๆ กัน  เช่นบริการทางด้านการรักษาพยาบาล การศึกษา สาธารณูปโภคต่างๆ องค์การภาครัฐที่บริหารแบบระบบราชการจึงสามารถดำเนินงานได้อย่างไม่มีปัญหา มากนัก
สรุปสาระสำคัญ ทฤษฎีองค์การและการวิเคราะห์ (ทฤษฎี Max Weber) จากการศึกษาวิชาทฤษฎีองค์การและการวิเคราะห์ในหัวข้อต่าง ๆ ได้แก่
          1) ทฤษฎีองค์การและพัฒนาการของทฤษฎี
          2) การวินิจฉัยองค์การ (Diagnosis)
          3) Strategy, Organization Design, and Effectiveness
          4) Corporate Identity และวัฒนธรรมองค์การ

ขอบคุณข้อมูลดีๆจาก http://suttikan-dba04.blogspot.com/2012/10/14-2-55-max-weber.html