วันพุธที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2556

ความเชื่อโบราณ กับคนยุคปัจจุบัน


จิ้งจกทัก.
…..คนไทยกับความเชื่อ ถือได้ว่าเป็นของคู่กัน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของสิ่งศักดิ์ เรื่องเร้นลับ หรือแม้กระทั่ง การทำนายทายทักว่าอย่างโน่นดี อย่างนี้เหมาะ นี่ก็ถือเป็นอีกหนึ่งสิ่ง ที่คนเราให้ความเชื่อ หลงใหลกันอยู่มาก แต่จะมีความเชื่อไหนกันบ้างนะ ที่ถือได้ว่า เป็นเรื่องปกติ ในชีวิตประจำวันของคนเราไปแล้ว อย่ามัวช้า มาดูเหล่าความเชื่อนั้น เผื่อจะได้นำไปปรับใช้กันบ้าง
…..จิ้งจกทัก ห้ามออกจากบ้าน นี่คือความเชื่อมาตั้งแต่สมัยโบราณ โดยคนสมัยก่อนเค้ามักจะพูดเปรยขึ้นมาว่า จิ้งจกทัก อย่าออกจากบ้านเชียวนะ เดี๋ยวจะเกิดเรื่องไม่ดี…แต่ในปัจจุบัน ไม่ว่าจะเป็นที่ไหนๆ จิ้งจกก็เยอะแยะไปหมด ถ้ามัวแต่มาคอยระวังเสียงจิ้งจกทักล่ะก็ มีหวังคุณๆ ทั้งหลาย คงไม่ต้องไปทำมาหากินกันแน่ๆ
…..ห้ามตัดผมวันพุธ ว่ากันว่า จะโดนผีหลอก บ้างก็ว่า ตัดผมวันพุธ หัวกุดท้ายเน่า เอ๊ะๆ นี่มันยังไงกัน คำโบราณมักใช้ไม่ได้ผลกับคนในสมัยนี้ เพราะในปัจจุบัน ไม่ว่าจะเป็นร้านทำผมร้านไหนๆ ก็มักจะเปิดบริการทุกวันอยู่แล้ว อ๊ะๆ…หรือนี่อาจจะเป็นแค่ข้ออ้างของช่างตัดผม อยากจะพัก แต่ไม่อยากปิดร้าน ถ้าปิดเสาร์-อาทิตย์ ก็ดันลูกค้าเยอะอีก ก็เลยเลือกหยุดวันพุธมันซะเลย…
…..เขม่นตา ขวาร้าย ซ้ายดี คุณๆ เชื่อกันรึป่าว…? นี่คืออีกหนึ่งความเชื่อ ที่ใครหลายคน มักหลงงมงายกันอยู่ เรื่องนี้มันขึ้นอยู่กับความเชื่อของแต่ละบุคคล แต่ก็มีคนบางกลุ่มคิดว่า อาการตาเขม่นนั้น เป็นอีกอาการที่เกิดจากกล้ามเนื้อกระตุก เนื่องจากคุณพักผ่อนน้อยเกินไปนั่นเอง
…..ห้ามทักเสียงประหลาดตอนกลางคืน เคยมั้ย เวลาที่คุณต้องออกไปไหนมาไหนตอนกลางคืน แล้วมีเสียงร้องทักเป็นชื่อ หรือเสียงประหลาดๆ ที่ทำให้คุณเกิดตกใจ ว่ากันว่า การที่คุณทำเสียงประหลาด หรือทักเสียงต่างๆ ที่เกิดขึ้นนั้น จะทำให้ของเข้าตัว…คุณมีความเชื่อแบบนี้กันบ้างมั้ย
…..ห้ามร้องเพลงขณะกินข้าว โบราณว่า จะได้สามีหรือภรรยาแก่เกินกว่าตัวเอง ไม่อยากได้แฟนแก่ เลิกร้องเพลงตอนกินข้าวกันดีกว่ามั้ย…
…..บีบแตรผ่านหน้าศาลหรือโค้งร้อยศพ ความเชื่อของคนมีรถ จะเดินทางไปไหนมาไหนก็กลัวจะมีอันตราย ไม่ว่าจะผ่านศาลหรือโค้งไหนๆ ขอบีบแตรไว้ก่อน โบราณเค้าว่า เป็นการสักการะหรือขอผ่านทาง แต่คนยุคใหม่ เค้าคิดว่าเป็นการส่งสัญญาณบอกรถที่กำลังสวนมามากกว่า
…..ด่าพ่อแม่ ตายไปเป็นเปรต ปากเท่ารูเข็ม ความเชื่อที่คนโบราณมักชอบพูดสอนเด็กๆ เป็นความเชื่อที่ไม่มีใครกล้าลบหลู่ แต่ในสมัยนี้ คงไม่ต้องถึงกับตายไปหรอก แค่ว่าพ่อแม่ปุ๊บ ปากอาจจะแตกได้ปั๊บ…
…..เล่นของมีคม ผีจะผลัก โบราณว่า ถ้าเอาของมีคมขึ้นมาเล่น เดี๋ยวจะโดนผีผลักเอาได้ ไม่ว่าจะเป็นใคร ที่ไหน เวลาไหน ก็ไม่ควรนำของมีคมขึ้นมาเล่นกัน คุณไม่สามารถรู้เหตุการณ์ล่วงหน้าได้ว่า จะเกิดอะไรขึ้น คุณหรือเขา อาจจะได้รับบาดเจ็บก็ได้
…..นกถ่ายรดศีรษะ ถ้าหากว่าคุณ เกิดโดนนกที่บินอยู่ทั่วไป ถ่ายรดที่ศีรษะ คนโบราณว่าไว้ ให้หยุดการเดินทางทันที หรือเลื่อนกำหนดออกไปวันรุ่งขึ้น ไม่เช่นนั้นอาจได้รับอันตรายจากอุบัติเหตุได้ ในกรณีเดียวกัน หากอยู่ในบริเวณบ้าน นกบินมาถ่ายรดศีรษะซึ่ง โอกาสจะมีน้อยมาก แต่หากเป็นเช่นนั้นแล้ว ก็ให้เตรียมตัวรับเหตุการณ์ได้เลยเพราะจะต้องมีเรื่องเดือดร้อนใจ หรือเกิดเหตุร้ายกับตัวเองแน่นอน
…..เท้าซ้าย เท้าขวา เท้าไหนก่อนดี…ก่อนออกจากบ้าน คุณๆ เลือกก้าวเท้าไหนออกจากบ้านก่อนเอ่ย…? คนโบราณบอกว่า คุณควรจะดูฤกษ์ยามก่อนออกจากบ้านเสียก่อน เพราะนอกจากเวลาเที่ยงแล้ว ควรดูด้วยว่าจะไปทำการใดจึงจะมีความสำเร็จได้ ควรก้าวเท้าไหนออกจากบ้าน จะเป็นซ้ายหรือขวา ขึ้นอยู่กับดวงของแต่ละคน อ๊ะๆ แต่อย่ามัวหมกมุ่นเชียวนะ เดี๋ยวจะไม่ทันได้ไปไหนกันพอดี


ขอบคุณข้อมูลดีดจาก  http://horoscope.mthai.com/horoscope-highlight/5680.html

วันเสาร์ที่ 8 มิถุนายน พ.ศ. 2556

ตำนานเจ้าแม่สองนาง

PDFพิมพ์อีเมล
ตำนานเจ้าแม่สองนาง
ตำนานเรื่องเจ้าแม่สองนางเป็นเรื่องเล่าเกี่ยวกับพระธิดาหรือลูกหลานของเจ้าเมืองหรือนักรบเวียงจันทน์ในสมัยโบราณ เป็นบุคคลสำคัญที่ชาวบ้านในอีสานหลายจังหวัดเชื่อว่าเป็นบรรพบุรุษของตนมีความศักดิ์สิทธิ์สามารถปกป้องคุ้มครองให้ตนและชุมชนรอดพ้นจากภัยอันตรายทั้งปวงได้
ตำนานเจ้าแม่สองนางส่วนใหญ่มีลักษณะโครงเรื่องที่คล้ายกัน คือ พระธิดาหรือลูกหลานของเจ้าเมือง หรือนักรบ ซึ่งเป็นพี่น้องกันหรือฝาแฝดกัน ล่องเรืออพยพมาตามแม่น้ำโขง แล้วเรือล่มเสียชีวิตในแม่น้ำโขง ต่อมาวิญญาณได้ปรากฏให้ชาวบ้านตามชุมชนต่าง ๆหรือเป็นผู้ติดตามนักรบไปทางบก ต่อมาเสียชีวิตบ้าง ตำนานเรื่องเจ้าแม่สองนางเป็นเรื่องเล่าที่สัมพันธ์กับประวัติการอพยพย้ายถิ่นของผู้คนและชุมชนที่เคยเป็นหัวเมืองเก่าในสมัยอาณาจักรล้านช้างมาก่อนเกือบทั้งสิ้น

เรื่องราวเกี่ยวกับเจ้าแม่สองนางนอกจากจะเป็นความเชื่อร่วมกันของผู้คนที่อพยพมาจาก
นครเวียงจันทน์แล้ว
ยังสะท้อนถึงความสัมพันธ์ของกลุ่มชนในแต่ละกลุ่มชนว่ามีบรรพบุรุษร่วมกัน หรือได้อพยพหนีภัยสงครามมาจากนครเวียงจันทน์เหมือนกันและอาจจะอยู่ในช่วงสมัยเดียวกัน 

ตำนานเรื่องเจ้าแม่สองนางเป็นเรื่องเล่าที่แพร่หลายในชุมชนชายฝั่งแม่น้ำโขงและภาคอีสานตอนกลางที่มีศาลหรือหอเจ้าแม่สองนางตั้งอยู่หลายพื้นที่ 
คือ ที่อำเภอเชียงคาน จังหวัดเลย อำเภอเมืองหนองบัวลำภู จังหวัดหนองบัวลำภู อำเภอศรีเชียงใหม่ อำเภอท่าบ่อ ตำบลเวียงคุก ชุมชมวัดหายโศก อำเภอเมือง   และ อำเภอโพนพิสัย จังหวัดหนองคาย   อำเภอบึงกาฬ จังหวัดบึงกาฬ บ้านแพงใต้ ตำบลบ้านแพง อำเภอบ้านแพง บ้านนาเขท่าตำบลนาเข อำเภอบ้านแพง   บ้านน้ำก่ำ อำเภอธาตุพนม จังหวัดนครพนม อำเภอเมืองมุกดาหาร จังหวัดมุกดาหาร อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น   บ้านสิงห์ท่า และบ้านสิงห์โคก อำเภอเมือง จังหวัดยโสธร
ชุมชนต่าง ๆ ที่นับถือเจ้าแม่สองนางจึงต้องบวงสรวงและเซ่นไหว้เป็นประจำทุก ๆ ปี เพื่อแสดงความกตัญญูต่อบรรพบุรุษของตนรวมทั้งการร้องขอความอุดมสมบูรณ์และความสันติสุขของชุมชน ในทุกชุมชนยังมีความเชื่อในตำนานเรื่องเจ้าแม่สองนางอย่างแนบแน่นและยังถือปฏิบัติการบวงสรวงเซ่นไหว้ในช่วงเดือน ๖ กันเป็นประจำทุกปี
ตำนานและความเชื่อเรื่องเจ้าแม่สองนางในเขตชุมชนเมืองและจังหวัดมักจะได้ความสนใจจากกลุ่มนักท่องเที่ยวอย่างมาก เพราะหน่วยงานการท่องเที่ยวในแต่ละจังหวัดจะนำตำนานเกี่ยวกับเจ้าแม่สองนางลงในเว็บไซต์ของจังหวัดในเชิงประชาสัมพันธ์สถานที่อันศักดิ์สิทธิ์ที่สำคัญของจังหวัด จึงทำให้ตำนานและความเชื่อเรื่องเจ้าแม่สองนางได้รับการเผยแพร่และเป็นที่รู้จักกันอย่างกว้างขวางทั้งในเมืองไทยและในประเทศเพื่อนบ้าน


ขอบคุณข้อมมูลดีจาก http://www.culture.go.th/subculture4/index.php?option=com_content&view=article&id=51:2013-02-12-03-10-11&catid=50:nationalich2012&Itemid=11